วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

               บัญญัติ 10 ประการ ของการใช้อินเทอร์เน็ต
    จากปัญหาการล่อลวงที่เกิดจากการเล่นอินเทอร์เน็ตที่นับวันยิ่งมีมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบได้พยายามหามาตรการป้องกันปัญหาและภัยจากการใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเกิดจากคนที่ขาดจิตสำนึกที่ดีของสังคม ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่จะสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อตนเองและสังคมเพื่อหลีกเลี่ยงและรับมือจากความเสี่ยงจากภัยออนไลน์ ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ยืน ภู่วรวรรณ ได้กล่าวถึง บัญญัติ 10 ประการซึ่งเป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้ควรยึดถือไว้เป็นแม่บทของการปฏิบัติ ดังนี้
1.ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
2.
ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.
ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
4.
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.
ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.
ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.
ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.
ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน
10.
ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท


การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต

การทำงานของอินเทอร์เน็ต


การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกำหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย





โดเมน
เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้น การจดจำหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจำผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข

1.โดเมนระดับบนสุด จะบอกถึงประเภทขององค์กร หรือชื่อประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่
ตาราง ตัวอย่างโดเมนระดับบนสุดที่บ่งบอกประเภทขององค์กร

โดเมน
ใช้สำหรับ
ตัวอย่าง
.com
กลุ่มธุรกิจการค้า (commercial organization)
aksorn.com
.edu
สถาบันการศึกษา (educational institution)
centre.edu
.gov
หหน่วยงานรัฐบาลที่ไม่ใช่หน่วยงานทางทหาร (government agency)
nasa.gov
.int
หน่วยงานระดับนานาชาติ (international organizations )
nato.int
.mil
หน่วยงานทหาร (deparment of defence and other military sites)
navy.mil
.net
หน่วยงานเกี่ยวกับเครือข่าย (networking resource)
nindsring.net
.org
หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร (private organization)
unesceo.org









ตาราง ตัวอย่างโดเมนระดับบนสุดที่บ่งบอกประเทศที่เครือข่ายตั้งอยู่
โดเมน
ประเทศ
ar
อาร์เจนตินา
au
ออสเตรเลีย
at
ออสเตรีย
ca
แคนนาดา
cn
จีน
dk
เดนมาร์ก
ie
ไอร์แลนด์
it
อิตาลี
jp
ญี่ปุ่น
th
ไทย
uk
อังกฤษ
us
สหรัฐอเมริกา





2.โดเมนระดับย่อย ใช้ในประเทศ ซึ่งจะบอกถึงประเภทขององค์กร
ตาราง ตัวอย่างโดเมนย่อยในประเทศไทย
รัหัสโดเมน
ใช้สำหรับ
ตัวอย่าง
or
กลุ่มธุรกิจ
Nectec.or.th
ac
สถาบันการศึกษา
Eau.ac.th
go
หน่วยงานของรัฐบาล
Mua.go.th







ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต


อินเทอร์เน็ต (Internet) 
     คือ  เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า
Inter Connection Network
     อินเทอร์เน็ต (Internet)  เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
ทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่า
โปรโตคอล (
Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี
(TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
 พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
     การศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่งช่วยให้เราเกิดการเรียรู้จากอดีตเพื่อเป็นบทเรีนสำหรับปัจจุบัน การศึกษาประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกัยเทคโนโลยีการสื่อสาร ประโยชน์ และแนวโน้มของเทคโนโลยีในอนาคตได้เป็นอย่างดี
    ในปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อ ค.ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ
เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียหายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน  (
DoD = Department of Defense)  ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อมาได้พัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด







วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต (Internet) 
     คือ  เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า
Inter Connection Network
     อินเทอร์เน็ต (Internet)  เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
ทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ โดยใช้มาตรฐานในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่า
โปรโตคอล (
Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี
(TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)
 พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
     การศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสิ่งใดสิ่งหนึ่งช่วยให้เราเกิดการเรียรู้จากอดีตเพื่อเป็นบทเรีนสำหรับปัจจุบัน การศึกษาประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกัยเทคโนโลยีการสื่อสาร ประโยชน์ และแนวโน้มของเทคโนโลยีในอนาคตได้เป็นอย่างดี
    ในปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อ ค.ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ
เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียหายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน  (
DoD = Department of Defense)  ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อมาได้พัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด